วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

เกาะทะลุ



เกาะทะลุ

เกาะทะลุ บางคนอาจเคยได้ยินชื่อเกาะทะลุกันมาบ้าง แต่ก็คงยังไม่ทราบว่าที่เกาะทะลุมีดีอะไร นักท่องเที่ยวหลายๆท่านอาจจะมีคำถามว่า จะไปเที่ยวที่ไหนดี หรือจะไปดำน้ำที่ไหนดี ผมก็ขอแนะนำที่เกาะทะลุเลยครับ เพราะถ้าหากเราจะคิดถึงแหล่งดำน้ำดูปะการังชั้นดีใกล้ๆกรุงเทพ ทุกคนคงจะนึกถึง เกาะทะลุ เกาะขนาดใหญ่ที่อยู่ในเขต ตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบฯ หากเดินทางโดยใช้เรือ ใช้เวลาเดินทางเพียง 30-40 นาที โดยบริเวณรอบ ๆเกาะอุดมไปด้วยปะการังสีสวย หาดทรายขาวสะอาด มีปลาทะเลและหอยมือเสือชุกชุม เกาะทะลุจึงขึ้นชื่อในหมู่นักท่องเที่ยว เหมาะสำหรับผู้รักธรรมชาติที่นิยม ดำน้ำชมปะการังเป็นอย่างยิ่ง จุดเด่นของเกาะทะลุนี้คือหน้าผาสูงชันที่มีช่องขนาดใหญ่อยู่ ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากชายฝั่งเวลาที่น้ำลงเป็นที่มาของชื่อว่า เกาะทะลุ ครับ  






กิจกรรมราคา/ท่าน
ดำน้ำเกาะทะลุ-เกาะสิงห์350 บาท
วันหยุดยาวหรือเทศกาล450 บาท


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 081-526-6962 , 032-817-234



       

เกาะทะลุ เป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นชั้นดีและที่สำคัญคือ ราคาค่าบริการดำน้ำดูปะการัง ถูกมากเมื่อเทียบกับแหล่งดำน้ำอื่นๆของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเกาะทะลุหรือที่บางท่านเรียกว่าเขาทะลุได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างมากมาย รวมทั้งในโลกออนไลน์ อย่างเช่นเว็บไซต์ พันทิพย์ หรือ pantip.com ก็ได้มีการรีวิวสถานที่องเที่ยวกันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังหาที่พักที่หัวหินซึ่งอยู่ไม่ไกลพักผ่อนได้อีกด้วย และหากท่านอยู่ริมทะเลในอ่าวบางสะพานและบางสะพานน้อย ไม่ว่าช่วงไหน คือตั้งแต่อ่าวแม่รำพึงจนถึงหาดบางเบิด จะมองเห็นเกาะทะลุ ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อยู่ห่างจากชายฝั่งไปไม่ไกล บนเกาะมีถ้ำทะลุจากด้านหนึ่งของเกาะไปยังอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเด่นและที่มาของชื่อเกาะทะลุ บนเกาะทะลุมีชายหาดสวยงามสี่แห่ง มีแหล่งปะการังน้ำตื้นสวยงามให้ชมอยู่รอบเกาะ  แถมปลายังชุกชุมซะด้วย นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาให้อาหารปลาและดำน้ำเล่นกับฝูงปลากันที่นี่ ใช้เวลาเดินทางมายังจุดดำน้ำเกาะทะลุ โดยเรือท่องเที่ยวประมาณ 30-40 นาที



     



เกาะทะลุ อยู่ในทะเลอ่าวไทย อ. บางสะพานน้อย ห่างจากชาย ฝั่งบริเวณปากคลองบางสะพานน้อยราว 7 กม. มีจุดดำน้ำที่เลื่องชื่ออยู่ 2 จุดโดยเรือท่องเที่ยวจะพาไปดำน้ำชมปะการังจุดละ 1 ชั่วโมง โดยเกาะทะลุมีเกาะบริวารอีกสองเกาะ คือ เกาะสังข์และเกาะสิงห์ ซึ่งเป็นแหล่งชมปะการังน้ำตื้นที่สวยงามอีกที่เช่นกัน



ดำน้ำเกาะทะลุ   ฝูงปลาที่เกาะทะลุ  



เกาะสิงห์-เกาะสังข์ที่นี่เป็นจุดที่สองสำหรับการดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นเป็นเกาะขนาดเล็ก อยู่ใกล้กับเกาะทะลุไปทางด้านทิศใต้ ตัวเกาะคล้ายกับโขดหินที่ลอยอยู่ในทะเล ไม่มีชายหาด รอบเกาะอุดมไปด้วยปะการังสวยๆชนิดต่างๆ คล้ายกับที่เกาะทะลุ แต่จะมีจุดเด่นกว่าตรงที่ เกาะสิงห์มีปะการังมากชนิดกว่า และสวยงามกว่า จึงพลาดไม่ได้สำหรับคนที่ชอบปะการัง

       

แพคเกจดำน้ำดูปะการัง ที่เกาะทะลุ และเกาะสิงห์ One Day Trip คลิ๊ก !!

แพคเกจดำน้ำดูปะการัง ที่เกาะทะลุ และเกาะสิงห์ 2 วัน 1 คืน คลิ๊ก !!

แพคเกจดำน้ำดูปะการัง ที่เกาะทะลุ และเกาะสิงห์ 3 สัน 2 คืน คลิ๊ก !!

แพคเกจตกหมึก เรือตกหมึก เรือไดหมึก ปิ้งย่างท่านบนเรือ คลิ๊ก !!

      

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 081-526-6962 , 032-817-234






ปาการังเกาะทะลุ    ปะการังเขากวางเกาะทะลุ

เครดิตรูปภาพ : http://www.bangburdtour.com

ปลาสวยงามที่เกาะทะลุ

ปลาสวยงามต่างๆที่สามารถพบได้ที่เกาะทะลุ











ปลากระเบนจุดฟ้า ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลากระเบน





ปลาเก๋าแดง ปลาเก๋า ปลากะรังหางนกยูง





ปลามงตาโต ปลาโนรี ปลานกแก้ว





ปลาไหลมอเรย์ ปลาแพะ ปลาปักเป้า





ปลาพยาบาล ปลาผีเสื้อ ปลาผีเสื้อแปดเส้น





ปลาทราย ปลาสลิดหินสามจุด ปลาสลิดหิน





เต่าทะเล ปลาสาก หมึกกระดอง





หมึกหอม ปลาสลิดหินลายเสือ ปลากระบอก



Credit : http://www.bangburdtour.com



** Webpage นี้เป็น Page ที่มุ่งหวังให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปโดยมิได้มุ่งหวังผลกำไร **


** เว็บไซด์อื่นๆที่สนใจข้อมูลต่างๆภายในหน้านี้ สามารถนำข้อมูลไปเผยแพร่ได้ทันที โดยมิต้องขออนุญาติครับ **
วิธีการเตียมอุปกรณ์ดำน้ำ


บางเบิดรีสอร์ท แนะนำวิธีการดำน้ำเบื้องต้น ให้แก่ผู้ที่ต้องการไปดำน้ำดูปะการัง ที่เกาะทะลุ เกาะสิงห์







1. หน้ากาก

ควรต้องพอดีกับหน้า ไม่มีรอยฉีกขาด ก่อนลงน้ำปรับสายรัดศรีษะให้พอดีไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป ก่อนใช้งานควรทำการป้องกันการเกิดฝ้าบนกระจกหน้ากากดำน้ำไว้ก่อน (เรียกว่าการทำ Film)



- การทำฟิล์มบนหน้ากาก

บ่อยครั้งมากที่พวกเราเวลาดำน้ำอยู่ แรกๆก็มองทุกอย่างสวยใสดี หลังจากนั้นแค่ 5-10 นาที เราก็มองอะไรไม่เห็นกันแล้วเอน้ำก็ไม่ขุ่นนี่นา แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ปรากฏว่าเจ้าหน้ากากของเรานั่นเองที่เกิดฝ้าไอน้ำจับ ที่กระจกหนาขึ้นเรื่อยๆ จนขาวไปหมด สาเหตุการเกิดฝ้าจับที่กระจกเกิดจาก ไอน้ำที่ออกจากลมหายใจของเรา ไปสัมผัสกับกระจก ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้ไอน้ำที่ว่าเกิดการควบแน่นตามหลักวิทยาศาสตร์ หากเราทำให้ไอน้ำไม่สามารถสัมผัสกับกระจกได้โดยตรงก็จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้จึงเป็นที่มาของการทำฟิล์มบนหน้ากาก



- หลักการทำฟิล์มบนหน้ากาก

ทำให้ผิวกระจกด้านใน มีแผ่นฟิล์มฉาบอยู่ที่ผิวด้วยวัสดุต่างๆ ที่สามารถใช้ทำฟิล์มได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ ไอน้ำสัมผัสกับผิวกระจกโดยตรงแล้วเกิดจับตัวเป็นฝ้า



- วัสดุที่สามารใช้ทำฟิล์มได้

1. สบู่เหลวหรือยาสระผมบางคนใช้ซันไลน์ก็ได้

2. ยาสีฟัน

3. น้ำยา Anti Fog หาซื้อได้ตามร้านดำน้ำทั่วไปแต่แพงครับ ขวดประมาณ ยาหยอดตาราคาประมาณ 100- 200 บาท ไม่แนะนำให้ใช้ครับ

4. น้ำลาย อย่าตกใจครับผมไม่ได้เขียนผิดน้ำลายจริงๆครับ และเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพที่สุด และประหยัดที่สุดด้วยครับ น้าลายของเรานี่แหละ(ถ้าเป็น 3 อย่างแรก สามารถขอของคนอื่นมาใช้ได้ แต่ถ้าเป็นน้ำลายไม่แนะนำให้ไปขอคนอื่นมาใช้แบบ 3 อย่างแรกนะครับ)น้ำลายที่ใสๆเหลวๆจะไม่ดีเท่าน้ำลายที่มีความหนืดเล็กน้อยครับ

* เทคนิคก่อนใช้น้ำลายควรดื่มน้ำก่อนล่วงหน้าสัก 1-2 นาทีนะครับ แล้วอย่าเพิ่งกินอะไรตามก่อนจะนำไปทำฟิล์ม



- วิธีการทำฟิล์มบนหน้ากาก

1. ล้างหน้ากากให้สะอาดโดยเฉพาะ บริเวณกระจกด้านใน แล้วทิ้งให้แห้งสนิท(ยกเว้นกรณีใช้น้ำลายจะใช้ได้ทุกสภาพการณ์ ไม่ว่าจะแห้งหรือเปียก)

2. เลือกใช้วัสดุที่ใช้ทำฟิล์มที่ชอบมา 1 ชนิดแล้วหยดลง บนกระจกด้านในทั้ง 2 ข้างเพียงเล็กน้อย ห้ามใส่เยอะนะเดี๋ยวจะแห้งไม่ทัน(หากเวลาน้อย) หรือหนาเกินไปแล้วลางไม่หมดอาจแสบตา

3. ใช้มือถูน้ำยาที่หยดลงไปกระจกโดยถูวนไปมาเป็นวงกลมให้ทั่วกระจกทั้ง 2 ข้าง ต้องถูจนน้ำยานั้นเริ่มแห้งจึงสามารถหยุดถูได้ดังนั้นถ้าใส่เยอะมันก็จะไม่แห้งสักที

4. รอจนกว่าจะดำน้ำจึงเอาหน้ากากที่ผ่านขั้นตอนที่ 3 ที่แห้งสนิทแล้วจุ่มลงน้ำจืด(ถ้าไม่มีก็น้ำทะเลก็ได้) แล้วกลิ้งๆล้างน้ำยาส่วนเกินออกจากกระจกแล้วเทน้ำทิ้ง หากใชน้ำยามากเกินอาจต้องทำการล้างส่วนเกินนี้ 2 ครั้ง ระหว่างการล้างห้ามใช้มือถูอีก และหลังจากนี้ก็ห้ามจับกระจกด้านในอีก ตลอดการดำน้ำกระจกจะใสอยู่ตลอดเวลา ปกติผมจะทำฟิล์มทิ้งไว้ตั้งแต่ก่อนนอนด้วยยาสระผมหรือสบู่เหลวเช้ามาจะได้พร้อมใช้งาน หรือถ้าขี้เกียจก็จะมาทำก่อนลงน้ำสัก 1 ช.ม. พอถึงเวลาลงน้ำก็แห้งพอดี จับจุ่มน้ำ 1 ทีกลิ้งๆใช้งานได้ทั้งวันไม่มีขุ่น หากใครลงไปแล้วรู้สึกว่าขุ่นก็ต้องแก้ขัดทำฟิล์มกันใหม่ด้วยน้ำลายไประหว่างนั่งเรือไปดำน้ำจุดต่อไปก็ได้ครับง่ายที่สุด











2. ท่อหายใจ(Snorkel)

ควรใช้แบบมีวาวล์ เพื่อไล่น้ำออกได้ง่าย เผื่อเวลาน้ำเข้าท่อจะได้ Clear น้ำออกจากท่อได้ง่าย(ราคาจะแพงกว่า แบบไม่มีวาวล์เล็กน้อย 100-200บ.) ก่อนลงน้ำปรับตำแหน่งของท่อกับหน้ากาก ให้เหมาะสมพบบ่อยมาก คนที่ดำน้ำไม่สนุกเพราะน้ำเข้าท่อและสำลักน้ำตลอดเวลา เพราะเวลาคว่ำหน้าลงน้ำแล้วปลายท่อไม่ตั้งฉากกับผิวน้ำแต่ ปลายท่อกลับทิ่มลงไปในน้ำ หรือสูงกว่าผิวน้ำ ไม่ถึง 10 ซ.ม. เวลาคลื่นมาทีน้ำก็เข้าตลอด ตรงนี้สำคัญมากถ้าแก้ตรงนี้ได้ ความสนุกสนานกับการดำน้ำจะมากขึ้นนะครับ







3. ชูชีพ

ต้องรัดสายทุกเส้นให้ถูกต้องและกระชับ โดยเฉพาะสายรัดเป้า คนส่วนใหญ่ 50% มักไม่รัด ปัญหาเมื่อไม่รัดคือเวลาลงน้ำ ชูชีพจะลอยขึ้นมาดันคอ หรือ ท่อหายใจ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาเวลาดำน้ำ และชูชีพควรมีนกหวีดเผื่อใช้กรณีขอความช่วยเหลือเมื่ออยู่ห่างไกลเรือ หรือเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน



4. ตีนกบ(ฟิน)

อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่จำเป็นนัก และเป็นดาบ 2 คม ประโยชน์หลักๆ คือช่วยให้เราแหวกว่ายไปในน้ำได้รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม 5-10 เท่า ทำให้เกิดความคล่องตัวและประโยชน์อีกอย่างคือช่วยทำให้ตัวไม่จมเมื่อ ใส่หน้ากาก+คาบท่อ+ใส่ตีนกบ+คว่ำหน้าอยู่ในน้ำ+แล้วหายใจทางปาก ถ้าคุณทำ 5 อย่างที่ว่านี่พร้อมกัน ไม่ต้องมีชูชีพยังไงก็ไม่จมครับ(ใครทำแล้วจมเดี๋ยวพาไปเที่ยวเกาะทะลุฟรีเลย อิอิ) ใครไม่เชื่อลองพิสูจน์ดูได้ ส่วนข้อเสียคือ หากออกแรงตีฟินมากเกินไปอาจทำให้เกิดตะคริวได้ แต่ถ้าใส่แล้วใช้ไม่ถูกวิธีแทนที่จะแหวกว่ายได้เร็วขึ้น 5-10 เท่าเรากลับ ว่ายอยู่กับที่(หากเราตีฟินแบบพับข้อเข่าไปมา การตีฟินที่ถูกต้องคือ ขาเหยียดค่อนข้างตรงงอข้อพับเข่าได้เล็กน้อย) และปัญหาอีกอย่างของผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการ Snorkeling แล้วใส่ฟินคือ ชอบยืนบนประการังเพราะไม่เจ็บขาทำให้ประการังพังครับ อันนี้ขอเลยอย่าทำเด็ดขาด หรือบางทีว่ายตีฟินไปโดนประการังหักโดยไม่ตั้งใจ ขอให้ระวังกันด้วยนะครับ