วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ชนิดของปะการังที่เกาะทะลุ


นอกจากจะดำน้ำดูปะการังเพื่อความเพลิดเพลินแล้ว การดำน้ำเป็นสิ่งที่เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในโลกใต้น้ำให้แก่ชีวิต ซึ่งโดยทั่วไป ถ้าผู้ที่มาดำน้ำไม่ได้ศึกษามาก่อนว่าปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใด แทบทุกคนก็จะตอบพร้อมกันว่า มันเป็นพืชอย่างแน่นอน แต่จริงๆแล้วผู้คนโดยทั่วไปต่างเข้าใจผิด เพราะปะการังนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ ซึ่งปะการังในโลกมีอยู่ประมาณ 400 ชนิด ซึ่งพบในน่านน้ำไทยประมาณ 240 ชนิด โดยเฉพาะที่เกาะทะลุและเกาะสิงห์มีปะการังให้ชมมากกว่า 40 ชนิด ซึ่งมีความสวยงามและมีรูปร่าง รูปทรงหลายแบบ เช่น แบบกิ่งก้านเหมือนเขากวาง หรือเหมือนกิ่งไม้ แบบก้อน หรือแบบโขด คล้ายสมองหรือคล้ายรังผึ้ง แบบแผ่นบางๆเหมือนใบไม้ หรือเหมือนจาน หรือเคลือบตามพื้นผิวซากปะการังที่ตายไปแล้ว ไม่ว่ารูปทรงจะแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม ปะการังแทบทุกชนิด ต้องมีลักษณะร่วมประการหนึ่ง คือ มีช่องเล็กๆ บนหินปูน ให้สิ่งมีชีวิตตัวนุ่มๆของปะการังหดตัวเข้าไปอาศัยอยู่ได้ โดยปะการังเล็กๆนับร้อยนับพันตัวอยู่รวมกัน


ปะการังพุ่มไม้ ( Cauliflower Coral )
ปะการังพุ่มไม้มีคอรอมลัมเป็นช่อคล้ายกิ่งก้านของพุ่มไม้ ตามปรกติกิ่งก้านที่แตกแขนงออกมีลักษณะกลม หรือแบนเล็กน้อย เมื่อตัดตามขวางแคลไลซ์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 มิลลิเมตร เป็นรูปสี่ถึงหกเหลี่ยมคล้ายลายตาข่าย ขนาดช่อโคโลนีกว้างประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร ปะการังชนิดนี้พบอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจนถึงขอบด้านนอกของแนวปะการัง และเป็นปะการังที่พบได้บ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป นอกจากนี้ระหว่างกิ่งก้านของปะการังมักมีปูใบ้ปะการัง (Trapezia cymdoce) อาศัยอยู่ด้วยเสมอ








ปะการังดอกกะหล่ำ ( Cauliflower Coral )
คอรอมลัมของปะการังดอกกะหล่ำมีลักษณะเป็นช่อที่แตกกิ่งก้านออกมาจากศูนย์กลาง คล้ายดอกกะหล่ำตรงปลายของแต่ละกิ่งก้านแผ่แบบขยายออก ผนังที่แบ่งกั้นคอรอลไลท์บางกว่าปะการังพุ่มไม้ ขนาดของช่อ กว้างประมาณ 12 เซนติเมตร ปะการังชนิดนี้พบเฉพาะในอ่าวไทย บริเวณเขตน้ำขึ้นลงและพบจำนวนน้อย พบได้มากที่เกาะล้าน ชลบุรี และที่เกาะสิงห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์












ปะการังเขากวาง ( Staghorn Coral )
ปะการังเขากวางมีคอรอลรัมเป็นช่อที่กิ่งก้านแตกออกคล้ายเขากวาง คอลรอลไลท์ที่อยู่ปลายยอดของกิ่ง มีขนาดใหญ่ ส่วนคอลรอลไลท์ด้านข้างมีผนังเจริญดีเฉพาะด้านนอกทำให้มีลักษณะคล้ายเกล็ด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแต่ละช่อกินเนื้อที่หลายตารางฟุต ตรงปลายก้านปะการังมักมีสีอ่อนกว่าโคน มีมากมายหลายสีทั้งสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้า สีเขียว ซึ่งปะการังชนิดนี้พบอยู่ทั่วไปในเขตน้ำขึ้นน้ำลงและลึกลงไป ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน และมีเยอะมากที่เกาะสิงห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์










ปะการังช่องแขนง ( Branching Pore Coral )

ปะการังช่อแขนงมีคอรอมลัมลักษณะเป็นช่อ คล้ายปะการังพุ่มไม้ ขนาดกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร แคลไลซ์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร และไม่มีคลอรอไลท์ที่อยู่ปลายยอดเหมือนปะการังเขากวาง ปะการังชนิดนี้เจริญอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงทางด้านในของขอบ พบอยู่ทั่วไปในแนวปะการังของไทย ทั้งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน










ปะการังผักกาด ( leaf Coral )

คอรอมลัมมีขนาดคล้ายช่อผักกาดที่บิดไปบิดมา มีโพลิปเจริญดีอยู่ทั้งสองด้านตามขอบเป็นสันคม ขนาดความกว้างของช่อประมาณ 30 เซ็นติเมตร ปรกติมีสีเทา หรือน้ำตาล ปะการังชนิดนี้มีความเปราะบางแตกหักได้ง่าย แต่มีความคมมากหากนักท่องเที่ยวไปสัมผัสอาจจะเป็นแผลได้ ปะการังชนิดนี้พบเจริญอยู่ทั่วไปในแนวปะการังตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงออกไปทั้งแนวอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน และแพร่กระจายทั่วไปแถบอินโดแปซิฟิก










ปะการังเห็ด ( Mushroom Coral )

ปะการังเห็ดเป็นปะการังที่อาศัยอยู่แบบเดี่ยว ลักษณะคล้ายดอกเห็ดรูปกลม นับเป็นปะการังที่มีคลอรอลไลท์ใหญ่มาก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร สันที่จัดเรียงตัวกันในแนวรัศมีเห็นได้ชัดเจน และอยู่ชิดกันมาก ระหว่างสันนี้มีหนวดหดตัวแทรกอยู่เป็นระยะ เมื่ออยู่ในน้ำโพลิปจะยื่นยาวออกมา แต่ผนังที่กั้นรอบคลอรอลไลท์ไม่เจริญ ระยะเริ่มแรกของการเจริญเติมโต ปะการังเห็ดมีก้านยึดติดกับพื้นปะการังชนิดอื่น เมื่อเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โพลิปจะบานออกไปคล้ายดอกเห็ด ทำให้ก้านหัก ปะการังจึงหลุดจากพื้น บางครั้งเราอาจพบปะการังเห็ด อยู่ใกล้กันเจริญขึ้นจนเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน 2 - 3 โพลิป ปะการังเห็ดที่พบเจริญอยู่ระหว่างปะการังอื่นนั้น หากอยู่ในระดับน้ำตื้น หรือในเขตน้ำขึ้นน้ำลง มักมีสีแดงอมม่วง ส่วนที่อยู่ลึกลงไปมีสีน้ำตาล ปะการังเห็ดชนิดนี้ เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากในแนวปะการัง ทั้งในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งที่เกาะทะลุมีอยู่เป็นจำนวนมาก










ปะการังดอกไม้ ( Anemone Coral )

ปะการังดอกไม้ชนิดนี้โพลิปมักมีสีน้ำตาลหรือเขียว ที่ชอบยืดตัวและบานหนวดออกจับเหยื่อ ในเวลากลางวัน คอรอมลัมมีลักษณะเป็นก้อนครึ่งวงกลม และเป็นอิสระจากพื้น ซึ่งถูกหยิบเก็บได้ง่าย เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาตู้ (แต่ผมไม่แนะนำให้เก็บไปนะครับ ปล่อยไว้ให้อยู่ตามธรรมชาติดีกว่าครับ) ขนาดความกว้างของคลอรอมลัมประมาณ 15 เซนติเมตร สันที่จัดเรียง ตัวตามแนวรัศมีขอวแคลไลซ์ไม่ค่อยเจริญ ทำให้ผนังระหว่างแคลไลซ์เป็นสันสูง พบเจริญอยู่ใต้ระดับน้ำลงต่ำสุดทางฝั่งทะเลอันดามัน และมีการแพร่กระจายทั่วไปในแถบอ่าวไทย










ปะการังโขดหิน หรือปะการังก้อน ( Hump Coral )

คอรอมลัมมีลักษณะเป็นก้อนขนากฬหญ่คล้ายโขดหิน บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน หรือรูปเกือกม้า เนื่องจากโพลิปส่วนบนที่โผล่พ้นน้ำตายลง และมีการทับถมของตะกอนทำให้สาหร่าย หรือฟองน้ำเจริญขึ้นแทน ส่วนโพลิปที่อยู่ทางด้านข้าง สามารถเจริญขยายออกไปได้เรื่อยๆ ทำให้ดูคล้ายแนวปะการังแบบวงแหวนขนาดเล็ก ส่วนที่โผล่พ้นน้ำมักมีสีม่วงแดง หรือสีน้ำตาล แคลไลซ์มีขนาดเล็ก ประมาณ 1 มิลลิเมตร ปะการังชนิดนี้เป็นปะการังที่พบบ่อยมากในแนวปะการังทั่วไป และครอบคลุทพื้นที่ ของแนวปะการังส่วนใหญ่ตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงและที่ลึกลงไป มีเยอะมากที่เกาะทะลุ









ปะการังก้อนรูปสมอง ( Knobbed Hump Coral )

ปะการังสมองมีคอรอลไลท์เป็นก้อนคล้ายสมองเนื่องจากบริเวณผิวมีส่วนนูน แคลไลซ์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และคอรอลไลท์กว้างประมาณ 30 เซนติเมตรพื้นผิวมีสีเทาอมน้ำตาล บางก้อนมีขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเท่ารถยนต์ และมีอายุหลายร้อยปี พอได้มากโดยทั่วไป สามารถพบเห็นได้ที่เกาะทะลุและเกาะสิงห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์

ขอบคุณข้อมูลจาก บางเบิดรีสอร์ท